วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

บทสรรเสริญคุณ พระรัตนตรัย


บทสรรเสริญคุณ พระรัตนตรัย


อิติปิ โส ภะคะวา
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

(มีเสียงยกย่อง สรรเสริญ อย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
เป็น ผู้ไกลจากกิเลส
เป็น ผู้ควร แก่การกราบไหว้บูชา
เป็น ผู้ตรัสรู้ชอบได้ ด้วยพระองค์เอง)

วิชชา จะระณะ สัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะ สาระถิ
( เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยความรู้ และ ความประพฤติ อันงาม
เป็นผู้เสด็จไปสู่ที่ดี คือ พระนิพพาน
เป็น ผู้รู้แจ้งโลก
เป็น ผู้ฝึกบุคคล ที่ควรฝึก อย่างยอดเยี่ยม
ไม่มีผู้อื่น เทียบได้ )

สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

( เป็น ครู
ของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย
เป็น ผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว
เป็น ผู้สามารถ จำแนกธรรม
สอนหมู่สัตว์ ได้ถูกต้อง
ตามอัธยาศัย ฯ)

สวากขาโต ภะคะวะตา
ธัมโม
( พระธรรม เป็นธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตรัสไว้ดีแล้ว )

สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก

(เป็นธรรมที่ บุคคลจะ พึงเห็นเอง เป็นธรรมที่ไม่ขึ้นกับ กาลเวลา สามารถปฏิบัติแล้ว เห็นผลได้ทุกเมื่อ เป็นธรรมที่ควรจะร้องเรียกให้ผู้อื่นมาดูว่า “ขอท่านทั้งหลาย จงมาดูธรรมนี้ เถิด” เป็นธรรม ที่บุคคล ควรน้อม เข้ามาใส่ใจ)
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ
วิญญูหีติ ฯ
(เป็น ธรรม ที่ ผู้รู้ทั้งหลาย ปฏิบัติแล้ว
จะเห็นได้ รู้ได้ เฉพาะตน เท่านั้น ฯ)

สุ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ
(พระอริยสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ ปฏิบัติดี แล้ว)

อุชุ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(พระอริยสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ ปฏิบัติตรง แล้ว)

ญายะ ปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(พระอริยสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ ปฏิบัติถูกต้อง แล้ว)

สามีจิ ปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(พระอริยสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ ปฏิบัติชอบ แล้ว)

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
( คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับได้ ๘ บุคคล
ท่านทั้งหลายเหล่านี้ คือ
พระอริยสงฆ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า )

อาหุเนยโย
( เป็นผู้ควรแก่ ของ ที่เขานำมา บูชา )

ปาหุเนยโย
( เป็นผู้ควรแก่ ของ ที่เขาเตรียมไว้ ต้อนรับ )

ทักขิเณยโย
( เป็นผู้ควรแก่ ทาน ที่เขานำมา ถวาย )

อัญชะลี กะระณีโย
(เป็นผู้ควรแก่ การ กราบไหว้)

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง 
โลกัสสาติ ฯ
(เป็น เนื้อนาบุญ ของโลก อย่างยอดเยี่ยม
ไม่มีนาบุญอื่น เทียบได้ ฯ)


เนื้อนาบุญ มีความหมายตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่า
แหล่ง (พระสงฆ์) ที่ควรแก่การทำบุญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น